พระสมเด็จวัดระฆัง-สำนักกฎหมาย
เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก
2พระอุปคุต
นกฟีนิกซ์
คำทำนายโลก
อหิวาตกโรค
ตู้จดหมาย9pha
ต่างชาติกับพระสมเด็จ
5พญาครุฑ
8คำกล่าวนำ
9ประวัติความเป็นมา
10ประวัติสมเด็จโต
127วังหน้า,วังหลัง,กรมท่า
11ห้องกาแฟใหญ่
ห้องหนังสือ
อ่านหนังสือผ่านมือถิอ
128เนื้อ..แป้งข้าวเหนียว
129องค์...ธนบดี
130เนื้อโกเด2ยุค
131พระสมเด็จย้อนยุค
132ต่างครกต่างมวลสาร
133ทรายแก้ว
ห้อง..ศิลปะพระสมเด็จ
12ห้องช่าง
134รู้หน้า...ไม่รู้ใจ
135กรอบพระโบราณ
136เส้นขนมจีน.หวายผ่าซีก
137องค์พระ....คะแนน
138พระแท้..พิมพ์แปลกตา
139องค์สังฆาฎิ
140เนื้อเปลือยปูนสุกดิบ
14ห้องคลังปัญญา
15คู่มือ..นักสะสม
13ห้องสมุด
16ห้องพระเก๊๊
17ห้องเปรียบมวย
18หายาก.....มีน้อย
19พระใหม่ลายเดิม
15ห้องพระเกศ
20องค์พระ...กรอบกระด้ง
21องค์สอง...หน้า
22องค์บาง.......ที่สุด
23องค์หนา...ที่สุด
24รวมรัก
25ห้องแป้ง,ห้องเนื้อพระ
26เส้นกรอบ....ครอบแก้ว
27ห้องความเก่าไม่ถึง
28ห้องมวลสารหลักพระสมเด็จ
29ด้านหลังพระสมเด็จ
30หลังเรียบ
31ขอบข้างพิมพ์นิยม
32สมเด็จวัดพระธาตุพนม
33พระสมเด็จวัดเกศไชโย
34พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
35ห้องพระสองคลอง
ห้องพระสมเด็จหลังเหรียญ
36วิวัฒนาการงานพระปูนปั้น
37พระสมเด็จรุ่นสุดท้าย
38ห้องสร้างชื่อเสียง
พระสมเด็จราคา 2 ล้าน
พระสมเด็จราคา 6 ล้าน
พระสมเด็จราคา 10 ล้าน
พระสมเด็จราคา 20 ล้าน
พระสมเด็จราคา 50 ล้าน
พระสมเด็จ 100 ล้าน
พระสมเด็จ 500 ล้าน
39ห้องพระล้ำค่าระดับเพชร
40พระสมเด็จราคาสูง
ประชาสัมพันธ์
จำนวนสมาชิก
41แบบพิมพ์ก่อนพิมพ์นิยม
ธนาคารพระสมเด็จ
เล่าเรื่องปฎิหารพระสมเด็จ
ห้องพระสมาชิก
ร้านค้า/ตู้พระสมาชิก
ห้องพระแลกพระสมาชิก
บอกบุญ
ข่าวสารงานประกวดพระ
43ห้องสนิมกระป๋อง
44ห้อง 5 ขาว
45ห้อง 4 ดำ
46ห้อง 3 แดง
15ห้องตำนาน
49ห้องเนื้อปูนขาดธรรมชาติ
50ดิน,ปูน.แป้ง,เปลือกหอย
ห้อง..9pha.net
ข่าวทุกสำนัก
sms..ผ่านมือถือบาทเดียว
เครื่องเตือนแผ่นดินไหว
ห้องบัญชี
51ห้องพระสมเด็จก้อน
53พิมพ์เส้นด้าย วัดระฆัง
ห้องสมเด็จ9พระ
54ทองเก่า-ทองใหม่
55สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก
56สมเด็จยายจันทร์
58พระสมเด็จปูนปอตแลนด์
60วังหน้าvsวัดระฆัง
62กรมท่าvsวัดระฆัง
ครบล้านแล้วจร้า
63กรมท่าvsพระสองคลอง
65เนื้อปูนขาวปิดทองลงชาด
66เนื้อผงใบลานเผา
ศูนย์พระของสมาชิก
ศูนย์คอมพิวเตอร์พันธ์ทิพย
สนามประกวดพระสมาชิก
15ลักษณะทางกายวิภาค
เนื้อดินสอเหลือง
67กลิ่นหมาก
68กรอบหัวนิ้วมือ
69หลังลายดอกพิกุล
15ใครปั้น ใครกด
ห้องคนเล่าเรื่อง
72องค์งาช้าง
73กดไม่เต็มพิมพ์
นั่งขัดสมาธิ
74ห้องเนื้อผสม
75พระสมเด็จลุงแฉล้ม
76พระสมเด็จเนื้อดิน
77เนื้อกล้วย,ขนุนเปื่อย
78แร่ธาตุอัญมณี
79ปูนตายซาก
80เนื้อว่านมงคล108
82เนื้อข้าวหอม
83ทรายเงิน-ทรายทอง
ยาผีบอก...
84สารเคลือบผิวแตกลาน
85สมเด็จยายขำ
วันแห่งความรัก
3.9G
หนึ่งในสยาม
ห้องtv9pha
87องค์เล็ก2วัด
แจกพระผงสุพรรณ
88พื้นนาแตกระแหง
89แตกลายหนังจระเข้
90ปูนเพชร
91อกครุฑเศียรบาตร
92องค์ใบเสมา
93ปรกโพธิ์เลื้อย
94มวลสารก้อนสีฟ้าอมเขียว
95ชื่อฉายา
96แขนหักศอกพิมพ์ครูเอื้อ
97เนื้อน้ำมัน
98เปลือกไม้มงคล
99ดินพอกช้างเผือก
100คราบไคร่ใบเสมา
101มวลสารพระธาตุ
102มวลสารขนมกระยาสารท
103พระสมเด็จ2วัด
ออกกำลังกายรักษาโรค
104มวลสารเหล็กไหล
105อวดธรรมชาติกาลเวลา
106เอวลอย
107อกกระบอก
108กาลเวลาพระเนื้อดิน
109รอยแยกแตกปรี
110ไปเที่ยววัดเกศไชโย
111ตามหาทรงกรวย
112เนื้อพระปูนปั้นย้อนยุด
ความสมดุลเกิดความสมบูรณ์
113ไม้ไก่กุ๊ก
114มวลสารหยกเขียวกวนอู
115ก้อนขาวกับกาลเวลา
116ห้องหินเทา
117แตกลายไข่นกปรอท
118ก้อนขาว,พระอรหันต์ธาตุ
119รักลอกทองล่อน
120เนื้อเก่า,เนื้อใหม่
มหัศจรรย์แห่งตัวเลข
121รอยสางหวี หรือเสนียด
พื้นผิวไม่เรียบ
พระสมเด็จคณะ9วัดระฆัง
เล่าเรื่องสมเด็จโต
พระสมเด็จกรุวัดกัลยาณมิตร
ตรวจคาร์บอน14
เปิดกรุหลวงวิจารย์
พิมพ์ฐานคู่
1พระสีวลี
ร้านให้เช่า9pha
ตามข่าวเสี่ยวิชัย
Main webboard
»
เล่าเรื่องอภินิหารสมเด็จโต
ย้อนกลับ
|
ตั้งกระทู้ใหม่
Started by
Topic:
เรื่องสมเด็จโต ตอน 7 (Read: 2115 times - Reply: 0 comments)
nokninja
Posts: 311 topics
Joined: 18/4/2552
เรื่องสมเด็จโต ตอน 7
« Thread Started on 4/2/2553 21:28:00 IP : 125.24.227.245 »
อ้างถึง
ครั้นถึงปีกุนนพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ (พ.ศ. ๒๓๑๐) ถึง ณ วันอังคารเดือนห้า แรมเก้าค่ำ เวลาบ่าย ๓ โมงเย็น พม่าจึงนำปืนใหญ่เข้าระดมยิงพระมหานคร พระมหานครก็แตก เสียแก่พม่าในวันอังคาร เดือนห้า ขึ้นเก้าค่ำ ปีกุนศกนั้น
ฝ่าย พระยาวชิรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้ถือพล ๕๐๐๐ ช่วยป้องกันพระมหานคร ครั้นเห็นว่าชาตากรุงขาด ไม่สามารถจะต่อสู้พม่าได้ ก็พาพล ๕๐๐๐ นั้น ฝ่าฟันหนีออกไปทางทิศตะวันออก ข้ามไปทางพเนียดคล้องช้าง เดินทางไปเข้าเขตเมืองนครนายก แล้วข้ามฟากไปแย่งเอาเมืองจันทบุรี ตีได้แล้วก็เข้าตั้งมั่นบำรุงพลพาหนะละเลียงเสบียงอาหาร สรรพศาสตราวุธยุทธภัณฑ์ไว้พร้อมมูลบริบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ก็ตั้งตัวเป็นเจ้า ชาวเมืองเรียกว่าพระเจ้าตาก ตั้งอยู่เมืองจันทบุรีก๊กหนึ่งในคราวนั้น
ครั้น ถึงปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๓๐ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๑) พระเจ้าตาก (สิน) ได้ยกพลโยธิแสนยากรเป็นกองทัพ เข้าบุกบั่นรบทัพพม่าตั้งแต่เมืองปาใต้ฝ่ายตะวันตกวกเข้าตีกองทัพพม่ามาถึง กรุงเก่า กองทัพพม่าสู้มิได้ก็แตกฉานล่าถอยขึ้นไปทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ แล้วก็เข้าชิงเอากรุงเก่าคืนจากเงื้อมมือพม่าข้าศึกได้แล้ว ลอยขบวนลงมาตั้งราชธานีที่เมืองธนบุรี ตำบลที่วัดมะกอกนอก เหนือคลองบางกอกใหญ่ ใต้คลองคูวัดระฆังโฆษิตาราม ทรงขนานนามเมืองว่ากรุงธนบุรี พระนามาภิธัยว่า พระเจ้ากรุงธนบุรี แต่ปีชวดศกนั้นมา
จึงหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ออกไปตั้งคฤหสถานบ้านเรือนครอบครองทรัพย์สมบัติอยู่ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ได้เข้ามาพร้อมด้วยเอกะและน้องแลบุตรทั้ง ๔ เข้ามารับราชการในพระเจ้ากรุงธนบุรีๆ ได้ตั้งให้หลวงยกกระบัตรเป็นที่พระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ถือศักดินา ๑๖ๆๆ ไร่ จึงตั้งคฤหสถานบ้านเรือนอยู่เหนือพระราชวังหลวง ใต้วัดบางหว้าใหญ่ (คือวัดระฆังในบัดนี้) ในปีชวดศกนั้นเอง พระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชทานเกียรติยศเป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ ยกทัพขึ้นไปปราบเจ้าพิมายมีชัยชำนะกลับลงมา ทรงพระกรุณาเลื่อนขึ้นเป็นที่พระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระตำรวจซ้าย ทรงศักดินา ๓๐๐๐ ไร่ ครั้นถึงปีขาลโทศก ๑๑๓๒ ปี (พ.ศ.๒๓๑๓) พระเจ้ากรุงธนบุรีรับสั่งให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ ถืออาญาสิทธิ์เป็นแม่ทัพยกกองทัพไปปราบเจ้าพระฝาง เมืองสวางคบุรี ตีกองทัพเจ้าพระฝางแตก จับตัวเจ้าพระฝางได้ พร้อมทั้งช้างพังเผือกกับลูกดำ จับตัวพรรคพวกและช้างลงมาถวาย ส่วนพระยาอภัยรณฤทธิ์รั้งหลังเพื่อจัดการบ้านเมืองฝ่ายเหนือป่าวร้องให้อาณา ประชาราษฎรที่แตกฉานซ่านเซ็น ให้รวมเข้ามาเป็นหมวดหมู่ตั้งอยู่ดังเก่า ตามภูมิลำเนาเดิมของตน ที่ขัดขวางยากจนก็แจกจ่ายให้ปันพอเป็นกำลังสำหรับตั้งตัวต่อไปภายหน้า เมื่อขณะนี้เองชาวเมืองเหนือจึงได้พากันนิยมสวามิภักดีต่อท่านพระยาอภัยรณ ฤทธิ์ รักใคร่สนิทแต่คราวนั้นเป็นต้นเป็นเดิมมา เมื่อกองทัพกลับแล้ว พวกราษฎรเมืองเหนือบางครัว จึงได้พากันมาอยู่ในกรุงเก่าบ้าง เมืองอ่างทองบ้าง เมืองปทุมบ้าง เมืองนนทบุรีบ้าง เมืองพระประแดงบ้าง ในกรุงธนบุรีบ้าง ในบางขุนพรหมบ้าง ต่างจับจองจำนองที่ดินซื้อหา ตามกำลังและวาสนาของตนๆ เป็นต้นเหตุ ที่มีผู้คนคับขันขึ้นทั้งในกรุงและหัวเมืองแน่นหนาขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นลำดับ มา
ส่วนพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงเลื่อนที่ให้พระยา อภัยรณฤทธิ์ขึ้นเป็นพระยายมราชเสนาบดีที่จตุสดมภ์ กรมพระนครบาล ทรงศักดินา ๑๐๐๐๐ ไร่ พรรษายุกาลได้ ๓๔ ปี ในปลายปีขาลศกนั้นเอง พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเลื่อนที่เจ้าพระยายมราชขึ้นเป็นเจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก อรรคมหาเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ทรงศักดินา ๑๐๐๐๐ ไร่
ครั้น ถึงปีเถาะตรีศก จุลศักราช ๑๑๓๓ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๔) พระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพถืออาชญา สิทธิ์ต่างพระองค์ ยกกองทัพใหญ่ออกไปปราบปรามเมืองเขมรกัมพูชาประเทศก็มีชัยชนะเรียบร้อยกลับมา ได้รับพระราชทานรางวัลพิเศษ
ครั้นถึงปีมะเมีย ฉศก จุลศักราช ๑๑๓๖ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๗) มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ ยกกองทัพใหญ่ขึ้นไปล้อมเมืองเชียงใหม่ที่พม่ารักษาอยู่นั้น พม่าซึ่งรักษาเมืองเชียงใหม่ ได้ความอดอยากยากแค้นเข้า ก็พากันละทิ้งเมืองเชียงใหม่เสียแล้วหนีไปสิ้น ก็ได้เมืองเชียงใหม่โดยสะดวกง่ายดาย ในปลายปีมะเมีย ฉศกนั้นเอง อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าอายุ ๗๒ ปี เป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ในพระเจ้ามังระกรุงอังวะ ครั้งนั้นพระเจ้าอังวะมีพระโองการรับสั่งให้อะแซหวุ่นกี้ถืออาญาสิทธิ์ยกทัพ ใหญ่ เดินกองทัพเข้ามาถึงด่านเมืองตาก แล้วให้พม่าล่ามถามนายด่านว่า พระยาเสืออยู่รักษาเมืองหรือไม่ นายด่านตอบว่าพระยาเสือไม่อยู่ยังไม่กลับ
อะ แซหวุ่นกี้จึงหยุดกองทัพหน้าไว้นอกด่าน แล้วประกาศว่าให้เจ้าเมืองเขากลับมารักษาเมืองเสียก่อน จึงจะยกเข้าตีด่าน เลยเข้าตีเมืองพิษณุโลกทีเดียว (เขียนตามพงศาวดารพม่า)
สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงทราบข่าวข้าศึก จึงกรีฑาทัพหลวงขึ้นไปรักษาเมืองพระพิษณุโลกไว้ แล้วให้หากองทัพกลับจากเมืองเชียงใหม่ ครั้นเจ้าพระยาสุรสีห์ทราบว่ากองทัพมาอยู่ปลายด่านเมืองตาก และทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกรีฑาทัพหลวงขึ้นมาประทับอยู่เพื่อป้องกัน รักษาเมืองพิษณุโลกด้วย จึงรีบยกกองทัพกลับ ครั้นถึงเมืองพิษณุโลกแล้วเข้าเฝ้าถวายบังคม เจ้าพระยาจักรีอยู่จัดการเมืองเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว ได้เลยตั้งข้าหลวงไปพูดจาปลอบโยนชี้แจงแนะนำเจ้าเมืองแพร่ เจ้าเมืองน่าน เจ้าเมืองลำปาง เจ้าเมืองลำพูน เป็นต้นเหล่านี้ ยอมสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ขอพึ่งพระบารมีโพธิสมภารเป็นข้าขอบขัณฑสีมาสืบไปตลอดกาลนาน เจ้าพระยาจักรีจึงได้เลิกทัพพาเจ้าลาวและพระยาลาวทั้งปวง ลงมาถึงเมืองพิษณุโลก เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลพร้อมกัน ณ เมืองพิษณุโลกนั้น
สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระโสมนัสนัก จึงพระราชทานฐานันดรศักดิ์จ้าวลาว พระยาลาวทั้งปวงนั้น ให้กลับขึ้นไปรักษาเมืองดังเก่า แล้วจึงพระราชทานรางวัลเป็นอันมากแก่เจ้าพระยาสุรสีห์นั้นได้ออกไปรักษาด่าน หน้าเมืองตากโดยแข็งแรงกวดขันมั่นคงทุกประการ
ฝ่าย อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพใหญ่พม่า ทราบว่าเจ้าพระยาเสือกลับมาแล้ว ออกมารักษาด่านอยู่ จึงสั่งให้มังเรยางู แม่ทัพพม่าเข้าตีด่าน ฝ่ายทหารรักษาด่านต้านทานทหารพม่าไม่ไหวก็ร่นเข้ามา กองทัพพม่าก็ตีรุกเข้าไปแล้วตั้งค่ายมั่นลงภายในด่านถึง ๓๐ ค่าย
ฝ่าย เจ้าพระยาจีกรีทราบว่า กองทัพเจ้าพระยาสุรสีห์เสียด่านร่นเข้ามา จึงกราบบังคมทูลรับอาสาช่วยเจ้าพระยาสุรสีห์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระโองการรับสั่งว่า "ข้าก็อยากเห็นความคิดสติปัญญาของเจ้าและฝีมือของเจ้าว่าจะเข้มแข็งสักเพียง ใด ข้าจะขอดูด้วย จงรีบออกไปช่วยสุรสีห์เถิด"
เจ้า พระยาจักรีกราบถวายบังคมลา ออกมาจัดขบวนทัพพร้อมสรรพ์ แล้วยกออกไปถึงค่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ แล้วจึงเจรจาว่า "เจ้าถึงแม้ว่าจะเป็นขุนนางผู้ใหญ่ก็จริงอยู่ แต่เจ้าเป็นขุนนางบ้านนอก อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่านั้น เขาเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่อยู่ในเมืองหลวงพม่า ทั้งเขากอรปด้วยความคิด สติปัญญาเยี่ยมยิ่งอยู่ ความรู้ก็พอตัว พี่จะรบเอง" ต่อแต่นั้นมา เจ้าพระยาจักรีก็จัดทัพออกรุกรับรบพุ่งกับกองทัพอะแซหวุ่นกี้เป็นหลายครั้ง ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ล่วงวันและเวลาช้านานมา จนถึงเดือนห้าเดือนหก ปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๘) เป็นปีที่ ๘ ในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี
ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้แม่ ทัพพม่า ก็คิดขยาดระอิดระอา ทั้งทางเมืองพม่าก็ชักจะวุ่นวายขึ้น ทั้งเสบียงอาหารก็บกพร่องจวนเจียนไม่พอจ่าย จึงคิดเพทุบายถามว่า "ใครผู้ใดออกมาเป็นแม่ทัพใหญ่บัญชาการ" ทหารไทยบอกไปว่า เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพ อะแซหวุ่นกี้จึงประกาศหย่าทัพ ขอดูตัวแม่ทัพไทย
เวลา นั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จทอดพระเนตรอยู่ในค่ายนั้นด้วย ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นกิริยาท่าทางสุภาพองอาจ และท่วงทีรูปโฉมของเจ้าพระยาจักรีเมื่อออกยืนทัพรับอะแซหวุ่นกี้คราวนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระเกษมสันต์โสมนัสปราโมทย์ถึงกับออกพระโอษฐรับ สั่งชมว่า "งามเป็นเจ้าพระยากษัตริย์ศึกเจียวหนอ" แต่นั้นมานามอันนี้ จึงเป็นนามที่แม่ทัพนายกองแลทหารทั้งปวง พากันนิยมเรียกว่า เจ้าพระยากษัตริย์ศึกแต่คราวนั้นมา ในกองทัพพม่าก็พลอยเรียกว่า เจ้าพระยากษัตริย์ศึก ตลอดไปจนถึงทางราชการฝ่ายพม่า ก็ได้จดหมายเหตุลงพงศาวดารไว้ว่า เจ้าพระยากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพฝ่ายไทย ได้รบกับอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่าที่เมืองพระพิษณุโลก เมื่อปีมะเส็งถึงปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗ ปี ครั้นเมื่อทอดพระเนตรแลทรงชมเชยแล้ว ก็ยาตรากระบวนออกยืนม้าหน้าพลเสนา ณ สนามกลางหน้าค่ายทั้งสองฝ่าย
ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ ก็จัดกระบวนแต่งตัวเต็มที่อย่างจอมโยธา ออกยืนอยู่หน้ากระบวน ณ กลางสนาม หน้าค่ายทั้งสองฝ่ายเช่นเดียวกัน (ตอนดูตัวนี้ความพิสดารมีแจ้งอยู่ในพระราชพงศาวดาร) ครั้นอะแซหวุ่นกี้ ได้เห็นเจรจาชมเชย พูดจาประเปรยตามชั้นเชิงพิชัยสงคราม แล้วก็นัดรบต่อไป แต่อะแซหวุ่นกี้คิดจะล่าทัพถอยกลับกรุงอังวะเป็นอย่างมากกว่าจะคิดแข็งใจรบ เอาเมืองพิษณุโลก แต่แตกแล้วก็ร่นถอยล่าไปออกทางด่านพระเจดีย์ ๓ องค์ทำกิริยาท่าทางเหมือนจะไปชิงเอาเมืองกำแพงเพชร ทำให้ฝ่ายไทยต้องแบงออกเป็นหลายกองติดตามพม่า ก้าวสกัดหน้าตีวกหลังตามเชิงกลยุทธ ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็เสด็จกลับเข้ากรุงธนบุรี ป้องกันพระราชธานีต่อไป
ฝ่าย เจ้าพระยาจักรีนั้น ครั้นส่งเสด็จแล้ว จึงจัดกองทัพออกติดตามสกัดจับพม่าตีรุกหลังพม่าแตกฉานเป็นหลายทัพ จับได้รี้พลช้างม้าเป็นอันมาก ทั้งตัวเจ้าพระยาจักรีเองก็ยกทัพหนุนไปด้วย จนถึงเมืองกำแพงเพชร แล้วจัดการพิทักษ์รักษาเมืองโดยกวดขัน ส่วนตัวท่านเจ้าพระยาเองก็ออกขี่ม้าสำรวจตรวจตรากองทัพน้อยๆทั่วไป เพราะใส่ใจต่อหน้าที่ราชการจนพม่าไม่กล้าหาญชิงเอาเมืองเหนือใต้ ต้องหนีออกไปทางด่านชั้นนอก พ้นเขตแดนสยาม กองทัพไทยไล่จับพม่าที่ล้าหลังได้ไว้เป็นกำลังราชการเป็นอันมาก ทัพอะแซหวุ่นกี้ล่าทัพออกพ้นประเทศอาณาเขตสยามในคราวนี้ตามกำหนดมีว่าเดือน ๗ ปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗ ปี
Link to Post
-
Back to Top
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
Main webboard
»
เล่าเรื่องอภินิหารสมเด็จโต
ย้อนกลับ
|
ตั้งกระทู้ใหม่
Online:
42
Visits:
16,777,220
Today:
4,832
PageView/Month:
58,214